เว็บไซต์นี้อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 2564 สามารถดูเวอร์ชั่นอัพเดทได้ที่ https://reconstitution.wevis.info

อำนาจนิติบัญญัติ

อำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจของรัฐสภา อันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีหน้าที่หลักในการตรา แก้ไข ตรวจสอบ หรือยกเลิกกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร และพิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน

สมาชิกวุฒิสภา

วุฒิสภา หรือ พฤฒสภา เป็นเสมือนพี่เลี้ยงของสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบกลั่นกรองกฎหมาย และมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ รวมทั้งมีอำนาจเลือกบุคคลที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนกิจกรรมอันอยู่ในวงงานของรัฐสภา แต่หากมองในภาพรวมวุฒิสภาเป็นอีกสภาหนึ่งในระบบสภาอาจจะมีอำนาจมากกว่าหรือน้อยกว่าสภาล่าง หรือมีบทบาทมากน้อยแค่ไหนเพียงใดนั้นย่อมสุดแล้วแต่รัฐธรรมนูญ

2 posts
ที่มาของวุฒิสภา
อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎร นับเป็นระบบผู้แทนที่ประชาชนจะมอบหมายให้ผู้แทนที่ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนในด้านต่าง ๆ โดยใช้รัฐสภาเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยด้านนิติบัญญัติ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นสถาบันการเมืองที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยด้านนิติบัญญัติ ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการเมืองที่สำคัญยิ่งในการออกกฎหมายมาให้ประชาชนต้องปฏิบัติตาม